ไม่อายทำกิน กัปตันหนุ่ม ขับบิ๊กไบค์ส่งอาหาร

ข่าว

ในช่วงการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อนไปตามๆกัน ซึ่งหลังจากทางรัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่เเต่ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรคภายนอกบ้าน ทำให้หลายคนต้องปรับตัว ในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งคนที่กำลังตกงานเริ่มหาอาชีพเสริมที่จะช่วยประคองครอบครัวให้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้

ล่าสุด ทางผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า ฐานันดร์ ขันธทัตบำรุง ซึ่งทำอาชีพนักบิน ได้ออกมาเผยเรื่องราวชีวิตหลังจากที่ถูกผันตัวเองมาเป็นหนุ่มส่งอาหาร โดยทางคุณฐานันดร์ ได้เผยว่า ” ที่นักข่าวหลายสำนักมาขอสัมภาษณ์ บอกเลยว่า ไม่ได้ต้องการดัง ไม่ได้ออกมาขับเพราะเบื่อ ไม่ได้ออกมาขี่เพราะอยากเทห์ แต่ออกมาทำตรงนี้เพราะหลายคนชอบมองว่าพวกที่เป็นนักบิน เป็นแอร์ อีโก้สูง ชอบมองว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าชาวบ้าน ทำแต่งานสบายๆ อยู่แต่ในห้องแอร์

ทั้งใน cockpit และใน cabin ต้องมีชีวิตที่เลิศหรู ฟู่ฟ่า ผมอยากให้ทุกคนลบความคิดแบบนั้นออกไป เพราะพวกเราก็คือมนุษย์เงินเดือนเหมือนกัน หาเช้ากินค่ำ เพียงแต่ว่าอาจจะเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น และเหตุผลสำคัญก็คือต้องการหาเงินมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ประจำรายเดือน จ่ายหนี้ จ่ายสิน เพราะปัจจุบันรายได้ประจำจากสายการบินลดลง เงินเดือนโดนลดลงเหลือแค่ 25% รายได้หลักจากเบี้ยเลี้ยงขณะทำการบิน (perdiam) เท่ากับ 0

เพราะไม่ได้บิน วิกฤตินี้คงยังไม่ได้จบลงง่ายๆ อย่างน้อยเร็วสุดน่าจะอีก 2-3 เดือน ถ้าเราอยู่บ้าน รอแต่ความช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยไม่ยอมพึ่งตัวเอง ดูทรงแล้วน่าจะรอดยาก ส่วนตัวของผม เงินช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน 5,000บ ตัดทิ้งไปได้เลย เงินประกันสังคม 7,500บ ก็ไม่อยู่ในเกณฑ์ ทั้งๆ ที่ปีนึงจ่ายภาษีฐาน 30% อัพ มาตลอด ปีนึงจ่ายเป็นเลขหกหลักทุกปีที่ออกมาทำคืออยากพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด ก่อนที่จะไปรอความหวังจากการพึ่งคนอื่น

รายจ่ายมันก็มีของมันอยู่ทุกเดือนไม่ได้ลดลง แต่ในเมื่อรายได้ที่เรารับอยู่ประจำ มันหายไป 80% จะให้มานั่งงอมืองอเท้าอยู่เฉยๆ เพื่อรอความช่วยเหลือจากรัฐ มันก็ไม่ใช่ ลูกเรือหลายคนตอนนี้ผันตัวเองเป็นแม่ค้าออนไลน์ ทำขนม ทำอาหาร หรือขายของใช้ต่างๆ เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในวิกฤตินี้ เพราะทุกคนย่อมมีรายจ่ายต่อเดือนอยู่แล้ว จะทำยังไงให้มีรายได้เสริมเข้ามาตอนนี้เพื่อประคองชีวิตให้รอดได้ โดนไม่ต้องพึ่งพาใคร งานมันมีมากมายมาก

แต่คนที่บอกว่าคุณตกงาน ไม่มีงานทำ ลองกลับไปนึกดูดีๆ ใหม่ เพราะว่างานมันไม่ได้เลือกคน แต่เป็นคนต่างหาก ที่ชอบเลือกงานเอง ฝากไว้เป็นข้อคิด และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านวิกฤตินี้ไปพร้อมกันครับ และที่สำคัญที่สุดคืออยากออกมาแชร์ประสบการณ์ ที่ชีวิตนี้ทั้งชีวิตมิอาจลืมได้เลย กับวิกฤติครั้งนี้ส่วนคำถามที่พบบ่อยมาก… คุ้มเหรอ? ที่เอารถซีซีสูงขนาดนี้ออกมาขี่ ผมขอเล่าให้ฟังเลยแล้วกัน จะได้ไม่ต้องดราม่ากันอีก GSA1200 ถังน้ำมันจุได้ 30ลิตร

เติมเต็มถังประมาณ 500บ (จากราคาน้ำมันในขณะนี้ ซึ่งถูกมาก) จากที่ผ่านมา วิ่งได้ประมาณ 520กม (ใช้ความเร็วไม่เกิน120 กม/ชม) ตีคร่าวๆ กม ล่ะ 1บ วิ่งได้ประมาณ 6วัน ตั้งเอาไว้ในใจ วันนึงรับทั้งงานใน และงานนอกมีทั้งได้น้อย และได้มาก ตั้งแต่ 300-2,000 กว่าบาท ลองคิดง่ายๆ เอาเฉลี่ยแค่วันล่ะ 1,000บ วิ่งงาน 6 วัน ได้เงิน 6*1,000=6,000บ หักค่ากินมื้อเที่ยงวันล่ะ 40บ (เช้ากับเย็นกินที่บ้าน) 6*40=240บ รายได้เท่ากับ 6,000บ

ต่อการเติมน้ำมัน 1ถัง หักค่าน้ำมัน ค่าข้าว 550+240=790 สรุปคือ 6,000-790=5,210 เอาแบบหักค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ อีก 1,000บ ล่ะกัน ก็ยังจะเหลือ 4,210บ ผมจะไม่บอกว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม ลองไปบวกลบคูณหารกันดูเองล่ะกัน รถใหญ่ถ้าขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ไม่ใส่จนหมดปลอก ไม่เปลี่ยนเกียร์บ่อย ไม่ติดไฟแดงนาน ออกตัวบ่อย หยุดบ่อย บอกได้เลยว่าน้ำมันกินเยอะกว่ารถเล็กไม่มากเลย ยิ่งตอนนี้รถโล่งๆ วิ่งกันสบายๆ

และบางคนยังถามว่าคุ้มมั๊ยกับค่าซ่อมบำรุง ค่าบำรุงรักษา รถผมเพิ่งเช็ค 40,000 กิโล ไปเมื่อไม่นาน กว่าจะเช็คอีกทีก็ 50,000 กิโล อีกเกือบ 10,000 กิโล ถึงจะเข้าศูนย์ ผมว่าเอาชีวิตตอนนี้ให้รอดกันก่อนดีมั๊ยครับ ก่อนที่จะไปคิดถึงตอนเข้าศูนย์ (ในอีก 10,000กิโล) จบนะครับสำหรับคำถามที่พบบ่อยที่สุด กับคำว่า คุ้มเหรอ? คุ้มมั๊ย? 😘*** เพิ่มเติมอีกนิดนึง ***ใครเค้าจะดราม่าไปก็ช่างเค้านะครับ ผมไม่ได้สนใจ

ผมออกมาทำตรงนี้ ไม่ได้ไปเบียดเบียน รบกวนใคร ไม่ได้ไปขอใครกิน ใครจะว่ายังไงก็ช่าง ต่างคนต่างความคิด จะรถถูก รถแพง ถ้าเอามาใช้งานให้เกิดประโยชน์ ก่อให้เกิดรายได้ ก็ทำไปเถอะครับ เราไม่ได้ไปปล้น ไปจี้ ใครเค้า ถ้าอยากขี่เท่ห์ๆ ขี่ออกมาวันแรกวันเดียว ถ่ายรูปเท่ห์ๆ ลงเฟสแค่นั้นพอครับ คงไม่ได้ออกมาขี่ทุกวันแบบนี้แน่นอน 😘#ไม่เลือกงาน_ไม่ยากจน#อย่าหมิ่นเงินน้อย_อย่าคอยวาสนา#ตนเป็นที่พึงแห่งตน#หาเงินเองได้_ไม่ต้องคอยรัฐบาล”

ขอบคุณข้อมูล:ฐานันดร์ ขันธทัตบำรุง

May